พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) พร้อมด้วยผู้บริหาร มอบนโยบายด้านการศึกษา แก้ปัญหาหนี้ครู จัดหาอุปกรณ์การสอนและสวัสดิการ 1 ครู 1 Tablet และเร่งลดภาระนักเรียน และผู้ปกครอง 6 ด้าน เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา, 1 อำเภอ 1 โรงเรียนคุณภาพ, ระบบแนะแนวการเรียน และเป้าหมายชีวิต, การจัดทำระบบวัดผลรับรองมาตรฐานวิชาชีพ, การจัดทำระบบวัดผลเทียบระดับการศึกษา, มีรายได้ระหว่างเรียน จบแล้วมีงานทำ สอดคล้องวิสัยทัศน์กระทรวงศึกษาธิการ “ภายในปี 2570 ผู้เรียนทุกช่วงวัยได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม มีทักษะที่จำเป็น พร้อมเรียนรู้ตลอดชีวิต และปรับตัวสอดคล้องกับวิถีชีวิตโลกยุคใหม่”
14 กันยายน 2566 พล.ต.อ. เพิ่มพูน ชิดชอบ แถลงนโยบายการศึกษา และแนวทางการขับเคลื่อนนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” พร้อมด้วยนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยผู้บริหาร โดยมีผู้บริหารระดับสูงส่วนกลาง เข้าร่วม ณ ห้องประชุมราชวัลลภ ตลอดจนผู้บริหารทุกสังกัดในส่วนภูมิภาค และผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการ ครู บุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งนักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครอง ประชาชนทั่วไป เข้าร่วมผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting YouTube BICT Channel และ Facebook Live : ศธ. 360 องศา
พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ ได้กล่าวต่อด้านนโยบาย มีการวางกรอบ วางแผนไว้หลายนโยบาย อย่าง นโยบายลดภาระครู ลดแบบประเมินวิทยฐานะ เรื่องการจัดหาอุปกรณ์การสอน การลดภาระนักเรียนผู้ปกครอง มีการจัดทำแพลตฟอร์ม นำหลักสูตรต่างๆ ใส่เข้าไป จากโรงเรียน และครูชื่อดัง เพื่อให้ผู้ด้อยโอกาสได้เข้ามาเรียน หรือได้มีการทบทวนบทเรียน ด้านนโยบายแก้หนี้สินครู การแก้ไขหนี้เป็นเรื่องที่ยาก ครูมีจำนวนมาก จะเข้าไปแก้ พร้อมทำให้ดีที่สุด ส่วนนโยบายลดภาระนักเรียนผู้ปกครอง มีการจัดทำแพลตฟอร์ม นำหลักสูตรต่างๆ ใส่เข้าไป จากโรงเรียน และครูชื่อดัง เพื่อให้ผู้ด้อยโอกาสได้เข้ามาเรียน หรือ ได้มีการทบทวนบทเรียน รวมถึงการจัดหาแท็บเเล็ต 1 นักเรียน 1 แท็บเล็ต ต้องมีคุณภาพ สามารถใช้สื่อสารได้ โดยยังไม่ชัดเจนว่า จะแจกให้กับนักเรียนระดับชั้นใดก่อน
ส่วนเรื่องนโยบายการแบ่งจ่ายเงินเดือนข้าราชการเป็น 2 ครั้ง พล.ต.อ.เพิ่มพูน บอกว่า นานาจิตตัง เหรียญมีสองด้านเสมอ แต่ประสบการณ์ทำนโยบายการแก้หนี้ มองว่า การจ่าย 2 ครั้ง อาจจะดีกว่า ย้ำว่า อยู่ที่มุมมอง เราต้องไม่อยู่ในวังวนเดิม .