คณาจารย์ นักศึกษา และศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยชิงหัว (Tsinghua University) ได้มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ในการนำแนวคิดใหม่ ๆ มาใช้เพื่อสร้างความก้าวหน้าระดับโลกและสร้างโลกที่เชื่อมโยงถึงกัน ผ่านการมีส่วนร่วมในข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง (Belt and Road Initiative: BRI)
โครงการริเริ่มโดยสถาบันสายแถบและเส้นทางแห่งมหาวิทยาลัยชิงหัว (Belt and Road Institute of Tsinghua University) เพื่อฉลองครบรอบ 10 ปีของข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทางในปี 2566 นี้ โดยวิดีโอที่เผยแพร่ https://www.multivu.com/players/English/9220851-tsinghua-university-highlights-tsinghua-people-promoting-global-development/#lg=1&slide=0 ได้แสดงให้เห็นถึงคุณูปการของชาวมหาวิทยาลัยชิงหัวตลอดทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการเคลื่อนไหวระดับโลกเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงผ่านการแลกเปลี่ยนทางวิชาการและการเสริมแกร่งโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในประเทศที่เข้าร่วมข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง
ศาสตราจารย์ จ้าว เค่อจิน (Zhao Kejin) รองคณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยชิงหัว เป็นหนึ่งในคณาจารย์ที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทางตั้งแต่ช่วงแรก ๆ โดยเขาและอาจารย์ท่านอื่นได้เข้าร่วมการประชุมที่จัดโดยกระทรวงและคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง และนำเสนอรายงานหลายฉบับเพื่อมอบข้อมูลเชิงลึกให้แก่รัฐบาล ในปี 2560 เขาเป็นหนึ่งในหัวหอกจัดตั้งการประชุมสายแถบและเส้นทางดาวอส (Belt and Road Davos Forum) เพื่อนำเสนอแนวทางของจีนในการจัดการกับปัญหาทั่วโลกบนเวทีระดับโลก โดยมีเป้าหมายในการ “เป็นกระบอกเสียงให้กับประเทศจีนและอธิบายนโยบายของจีนท่ามกลางเศรษฐกิจโลก”
คุณซื่อ จือฉิน (Shi Zhiqin) คณบดีบริหารสถาบันสายแถบและเส้นทางแห่งมหาวิทยาลัยชิงหัว ได้อธิบายบทบาทของมหาวิทยาลัยในฐานะ “ที่ปรึกษาด้านนโยบาย” ซึ่งทำการวิจัยสำคัญ ๆ และทำงานร่วมกับบรรดาองค์กรคลังสมองชั้นนำของจีน เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาเชิงกลยุทธ์ของข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง
ศาสตราจารย์หู อวี้ (Hu Yu) จากคณะวารสารศาสตร์และการสื่อสาร ผู้สอนวิชาสมรรถนะการอยู่ในสังคมโลกและแนวปฏิบัติในต่างประเทศ มหาวิทยาลัยชิงหัว กล่าวว่า “อคติมักเกิดจากความไม่เข้าใจ ดังนั้น การได้รับทราบข้อมูลโดยตรงจึงมีความสำคัญมาก” เพื่อส่งเสริมความเข้าใจร่วมกันมากขึ้นระหว่างจีนกับประเทศอื่น ๆ เขาได้จัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนทางวิชาการและวัฒนธรรมหลายครั้ง ตลอดจนช่วยเหลือทั้งนักศึกษาและเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยให้ได้รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับวัฒนธรรมและสังคมที่แตกต่างกัน
คุณเจิ้ง ห่าว (Zheng Hao) นักศึกษาระดับปริญญาโทสาขาวิศวกรรมโยธา เป็นหนึ่งในตัวแทนนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนเยาวชนเอเชียแปซิฟิกของสหประชาชาติ (UN Asia Pacific Youth Exchange Program) โดยเธอได้ทำการวิจัยในถิ่นทุรกันดารของประเทศไทย ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่จุดประกายให้เธอต้องการเป็น “พลเมืองผู้ทำประโยชน์ให้กับโลก”
คุณเฉา เฟิงเจ้อ (Cao Fengze) ผู้ช่วยผู้อำนวยการบริษัท ซิโนไฮโดร บูโร 11 จำกัด (Sinohydro Bureau 11 Co., Ltd.) สาขาแอฟริกา และศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยชิงหัว ได้บอกเล่าประสบการณ์การเดินทางที่สร้างแรงบันดาลใจให้เขาค้นพบคุณค่าของตัวเองในการทำประโยชน์ให้กับประชาคมโลก ผ่านการมีส่วนร่วมในโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั่วแอฟริกา
คุณจาง อี้ฉิง (Zhang Yiqing) ศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยชิงหัว คือผู้จัดการทั่วไปผู้อยู่เบื้องหลังโครงการสร้างอาคารฉลองครบรอบ 65 ปีความสัมพันธ์ทางการฑูตจีน-อียิปต์ ซึ่งสร้างขึ้นในปี 2564 โดยมีความสูง 385 เมตร ตั้งตระหง่านใจกลางย่านศูนย์กลางธุรกิจแห่งใหม่ในเมืองหลวงใหม่ของอียิปต์ และได้รับตำแหน่งตึกระฟ้าที่สูงที่สุดในทวีปแอฟริกา เขาได้อธิบายองค์ประกอบการออกแบบที่แสดงให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญของจีนในด้านการก่อสร้าง ทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของสายสัมพันธ์ที่ยั่งยืนระหว่างทั้งสองประเทศอีกด้วย
#https://edu-today.com/