
ความเป็นมาของโครงการ
ด้วยความตระหนักในปัญหาด้านสุขภาพและอนามัยของชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนในชนบทซึ่งอยู่ห่างไกลความเจริญ การขาดแคลนบุคลากรด้านสาธารณสุข เป็นปัญหาที่สำคัญของการพัฒนาประเทศ เนื่องจากการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศในปัจจุบัน จะมุ่งเน้นการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมอย่างมาก ทำให้ความต้องการบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งในภาครัฐและเอกชนมีความจำเป็นมาก แต่การผลิตบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีขีดจำกัดหลายอย่าง ในขณะเดียวกันนักเรียนที่ไม่ชอบเรียนสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพราะมีแนวคิดว่าเป็นเรื่องยาก ในขณะเดียวกันบุคลากรทางด้านสาธารณสุขเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว ก็มักจะไปปฏิบัติหน้าที่กระจุกตัวในเมือง ไม่กระจายออกไปสู่ชนบทที่ห่างไกล ซึ่งปัญหาใหญ่ คือ ความสะดวกสบายและรายได้ที่ได้รับนั้น แตกต่างกันอย่างมากระหว่างในเมืองและชนบท ดังนั้นโครงพระเมตตาสมเด็จย่า จึงได้จัดให้มีโครงการทุนการศึกษาด้านสาธารณสุข เพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนและกระจายโอกาสทางการศึกษา ให้กับคนในพื้นที่ ได้รับการศึกษาเพื่อกลับไปปฏิบัติงานในพื้นที่ชุมชนของตนเองภายหลังสำเร็จการศึกษาแล้ว
วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
วัตถุประสงค์
1. กระจายโอกาสทางการศึกษาด้านสาธารณสุขให้กับผู้ด้อยโอกาสในท้องถิ่นทุรกันดาร แต่มีความรู้ความสามารถให้ได้รับการศึกษา
2. ผู้ที่ได้รับทุนเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วกลับไปปฏิบัติงานในพื้นที่ชุมชนของตนเอง เป็นการบรรเทาปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านสาธารณสุขในท้องถิ่นทุรกันดารห่างไกล
3. สร้างจิตสำนึกและแรงจูงใจให้เกิดความรักในภูมิลำเนาของตนเอง
เป้าหมาย
1. ผู้ยากไร้และมีถิ่นกำเนิดอยู่ในพื้นที่ทุรกันดารบนพื้นที่สูงใน 9 จังหวัด ภาคเหนือคือ เชียงใหม่ เชียงราย แพร่ น่าน พะเยา ลำปาง ลำพูน ตาก และ แม่ฮ่องสอน
3. จังหวัดที่ขาดแคลนบุคลากรด้านสาธารณสุข พื้นที่ตามแนวตะเข็บชายแดน และ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ขั้นตอนและแนวทางการดำเนินงาน
ขั้นตอนและแนวทางการดำเนินงาน
1. โครงการพระเมตตาสมเด็จย่าแต่งตั้งคณะกรรมการโครงการทุนการศึกษาด้านสาธารณสุข
2. คณะกรรมการประชาสัมพันธ์โครงการทุนฯ ให้กับสถาบันการศึกษาต่างๆ
3. สถาบันการศึกษาพิจารณาคัดเลือกผู้ขอรับทุน ตามเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ที่กำหนด
4. คณะกรรมการสัมภาษณ์ผู้ขอรับทุน พร้อมกับศึกษาข้อมูลทางเศรษฐกิจของครอบครัว
5. ประกาศผลการพิจารณาและกำหนดวันปฐมนิเทศผู้ได้รับทุนพร้อมผู้ปกครอง
6. โครงการจะดำเนินการมอบทุนการศึกษาให้กับผู้ที่ได้รับทุนผ่านสถาบันการศึกษา
7. สถาบันการศึกษารายงานผลการเรียนให้โครงการทราบเป็นประจำทุกปี เพื่อประโยชน์ในการติดตามและประเมินผลโครงการ
วิธีการคัดเลือกผู้ขอรับทุน
วิธีที่ 1 : คณะกรรมการสัมภาษณ์และพิจารณาคัดเลือกผู้สมัครขอรับทุน ที่สมัครขอรับทุนโดยตรงกับโครงการทุนการศึกษาด้านสาธารณสุข
วิธีที่ 2 : สถาบันการศึกษาเป็นผู้ดำเนินการพิจารณาคัดเลือกนักศึกษา ที่มีคุณสมบัติเป็นไปตามเงื่อนไขการขอรับทุน แล้วเสนอรายชื่อให้คณะกรรมการพิจารณาอนุมัติให้ทุนการศึกษาต่อไป
ทั้ง 2 วิธี โครงการทุนการศึกษาด้านสาธารณสุข จะมอบทุนการศึกษาให้กับผู้ที่ได้รับทุนผ่านสถาบันการศึกษาเท่านั้น และเพื่อเป็นการสร้างจิตสำนึกการรักในถิ่นเกิดของตนเอง
ผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรแล้วจะต้องกลับไปปฏิบัติหน้าที่ในท้องถิ่นทุรกันดาร โดยเฉพาะภูมิลำเนาถิ่นเกิดของตนเองตามเงื่อนไขในการรับทุน
การสมัครและขอรับทุน
คุณสมบัติของผู้สมัคร
1. เป็นนักศึกษาวิชาด้านสาธารณสุข และมีจิตใจรักในวิชาด้านสาธารณสุข
2. เป็นนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
3. มีสัญชาติไทย ขยันหมั่นเพียรในการเรียน มีความประพฤติดี แต่ขาดทุนทรัพย์
4. เป็นผู้ที่ไม่ได้อยู่ระหว่างการขอรับทุนการศึกษาจากสถาบันอื่น
5. มีภูมิลำเนาอยู่ใน 9 จังหวัดภาคเหนือ คือ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ลำปาง ลำพูน ตาก และแม่ฮ่องสอนหรือจังหวัด
ที่ขาดแคลนบุคลากร
กำหนดการรับสมัคร
1. การสมัครขอรับทุน เปิดรับตั้งแต่วันที่ 1 – 30 มิถุนายน
2. สัมภาษณ์ผู้ขอรับทุนตั้งแต่เดือนกรกฎาคม – สิงหาคม
3. ประกาศผลผู้ได้รับทุน ภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน
เงื่อนไขและข้อผูกพันสำหรับผู้รับทุน
1. เนื่องจากเป็นทุนการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ผู้รับทุนจะต้องมีผลการศึกษาไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่สถาบันการศึกษากำหนด และจะต้องรายงานผลการศึกษาต่อคณะกรรมการฯ ทุกภาคเรียนการศึกษา
2. นักศึกษาที่จบการศึกษาแล้ว ต้องกลับไปปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่บ้านเกิดของตนเองเป็นระยะเวลาหนึ่งเท่าของเวลาที่เรียน
หรือปฏิบัติหน้าที่ในถิ่นทุรกันดารในพื้นที่ที่ขาดแคลนบุคลากรทางด้านสาธารณสุขเร่งด่วน
หมายเหตุ สามารถศึกษาเงื่อนไขเพิ่มเติมได้จากสัญญารับทุนการศึกษา
ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.somdejya.org/